Now Reading:

ส่อง 6 กล้องฟิล์มตัวเด็ด ที่ควรไปหามาลอง!

  • บทความนี้เอาใจคนรักการถ่ายภาพ ชอบมองอะไรผ่านเลนส์และอดไม่ได้ที่จะกดชัตเตอร์เก็บไว้เป็นความทรงจำ แต่ก็รักโมเม้นท์ในการถ่ายภาพแบบกล้องฟิล์มที่เน้นการแม่นยำ และรู้แสงรู้มุม แถมยังต้องรอลุ้นภาพอีกว่าจะใช้ได้หรือไม่ได้ นี่แหละมั้งที่เค้าบอกกันว่ามันคือเสน่ห์อย่างหนึ่งของความเก่าแบบกล้องฟิล์ม

  • การเลือกกล้องฟิล์มขึ้นอยู่กับความต้องการของเราเลยว่าอยากใช้งานแบบไหน ความถนัด วัสดุ น้ำหนัก ซึ่งองค์ประกอบพวกนี้ควรจะหาข้อมูลให้แน่นใช้ประกอบการตัดสินใจจะได้ไม่พลาดซื้อมาแล้วไม่ถูกใจวางแอ้งแม้งอยู่ในตู้

  • ทำความรู้จักกับรูปแบบการทำงานของกล้องฟิล์ม 3 ประเภทที่มีความแตกต่างกัน ควรศึกษาให้ดีว่าชอบแบบไหนก่อนที่จะไปหากล้องฟิล์มมาลองเล่น

@kaewjarin

@naphat_nine

ก่อนที่เราจะแนะนำว่ามีกล้องฟิล์มแบบไหนที่น่าเล่นบ้างเราอยากให้ทุกคนมาลองทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่ากล้องฟิล์มมีประเภทไหนบ้าง ตาม Shopspotter มาดูกันเลย 

1.กล้องออโต้ ( Auto ) 

 คือกล้องฟิล์มที่ ผู้ใช้ไม่ต้องปรับค่าของกล้อง อาทิเช่น รูปรับแสง หรือ สปีดชัตเตอร์ เองแค่ เล็ง โฟกัส และ กดชัตเตอร์ได้เลย

2.กล้องกึ่งออโต้

คือกล้องฟิล์ม ที่ผู้ใช้ปรับแค่รูรับแสง ส่วนสปีดชัตเตอร์ ตัวระบบกล้อง จะคำนวนค่าแสงและเลือก Speed Shutter ที่เหมาะสมเอง เราเรียกระบบแบบนี้ว่า Aperture Priority

3. กล้องฟิล์มแบบ Manual

คือกล้องฟิล์มที่ค่อนข้างมีความยืดหยุ่น โดยเราสามารถปรับค่าตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นค่าของรูรับแสง (F) หรือค่าความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) ซึ่งสำหรับใครที่ชอบการถ่ายภาพแบบที่ต้องมีการปรับตามใจแนะนำให้เลือกกล้องแบบนี้

 แนะนำ 6 กล้องฟิล์มที่ต้องหามาลอง! 

  • Olympus Trip 35

เป็นกล้องตัวแรกที่อยากแนะนำ เพราะมียอดขายถล่มทลายในยุคของมันถึง 10 ล้านตัวเหตุผลเพราะ เป็นผลพวงความฮิตมาจากตระกูลPen EE ในช่วงต้น ’60s เรื่องระบบการทำงานของเจ้ากล้องตัวนี้ไม่มีความซับซ้อนแต่อย่างใด โดยเริ่มจากการโฟกัส ที่ใช้การโฟกัสแบบ Zone Focus โดยหลักการใช้กล้องตัวนี้คือไม่ใช้ถ่าน บริเวณหน้าเลนส์จะมีเหมือนหลอดไฟเล็กๆอยู่ เจ้าสิ่งนั้นคือหลอดเซเลเนียม (selenium) มีไว้เพื่อวัดแสงโดยถ้าหากเลือกรูรับแสงเป็นโหมดออโต้นั้น กล้องจะวัดแสง และเลือกรูรับแสง(f) ที่แคบที่สุดสำหรับแสงนั้นให้เพื่อความคมชัดที่สุด และเลือกความเร็วชัตเตอร์ให้อัตโนมัติ ส่วนอีกโหมดคือโหมด Aperture Priority(AP) คือเราเลือกรูรับแสง(f) ตัวกล้องจะเลือกความเร็วชัตเตอร์ให้เอง

photographyattic. com

 

  • Nikon FG

กล้องฟิล์ม Nikon FG  เป็นกล้องฟิล์มรุ่นเล็กที่เพียบพร้อมด้วยฟังก์ชั่นของกล้องฟิล์มรุ่นใหญ่  ซึ่งเป็นกล้องฟิล์มในระบบผู้ใช้ทั่วไปเหมือนกัน ถือว่าเป็นกล้องฟิล์มประเภท SLR ที่เล็กที่สุดแล้วในไลน์การผลิตของ Nikon สำหรับมือใหม่ไม่ต้องกลัวว่ากล้องรุ่นนี้จะใช้งานยากนะ เพราะกล้องมีฟังก์ชั่นครบแล้วถ่ายง่ายมากๆ มีทั้งระบบออร์โต หากต้องเพิ่มแสงแค่กดปรับรูรับแสง แล้วกล้องจะเลือกสปีดชัตเตอร์ที่เหมาะสมให้

.casualphotophile .com

  • Minolta Hi -Matic AF

ใครที่หลงรักบอดี้ของกล้องที่มาในแนว Retro ในยุค 80’s ไม่ควรพลาดกล้องตัวนี้เลย เป็นกล้องระบบ Auto Focus รุ่นแรกๆของ Minolta ทำให้ง่ายสะดวกในการใช้งานมากๆ ที่เราต้องทำก็คือกดชัตเตอร์เท่านั้น แถมรุ่นนี้ยังมีแฟลชในตัวด้วยนะ ใช้แค่ถ่าน AA ธรรมดาได้เลย จุดเด่นอีกข้อของกล้องรุ่นนี้คือมีน้ำหนักเบา พกพาสะดวก แต่ถ้าใครชอบความอิสระในการถ่าย อยากปรับนู่นนี่เองตัวนี้อาจจะไม่เหมาะนะจ๊ะ

film-camera

  • Yashica Electro 35

ตัวนี้เป็นกล้องสำหรับคนที่ชอบการปรับนู่นนี่ด้วยตัวเอง มาพร้อมเลนส์ Yashinon DX 45 mm F:1.7-16 ขึ้นฟิล์มด้วยมือและกรอฟิล์มด้วยมือ ใครที่เป็นสาย  Rangfinder (การที่เราต้องโฟกัสมองไปที่ช่องมอง ปรับหมุนวงแหวนจนกว่าภาพจะซ้อนกันค่อยกดชัตเตอร์) ที่มีดีไซน์สวย อึด ถึก ทน  แนะนำว่ามือใหม่ยังไม่ควรเริ่มจากตัวนี้น้า อาจจะต้องลองเป็นออโต้ไปก่อน แต่ส่วนใครที่เริ่มชำนาญขึ้นมาระดับนึงแล้วอยากอัพสกิล ตัวนี้แหละเหมาะเลย

film-camera

amazon .com

  • Pentax K 1000 

ตัวนี้เรียกได้ว่าเป็นกล้องครูระดัยตำนานที่ไม่ว่าใครๆก็ต้องผ่านการฝึกปรือวิชามาจากกล้องตัวนี้ การทำงานเป็นแบบแมนนวล เลือกปรับค่าสปีดชัตเตอร์เอง รูรับแสง ค่า ISO และมีระบบวัดแสงแบบเข็ม +/- แสดงในช่องมองภาพ กล้องออกแบบมาให้ใช้งานง่ายต่อผู้ที่เริ่มต้นเล่น ขึ้นฟิล์มด้วยมือและกรอฟิล์มด้วยมือ ตัวนี้ใช้ถ่านเฉพาะในการวัดแสงเท่านั้น ถ้าไม่มีถ่านก็ยังสามารถที่จะใช้งานได้ เพียงแค่ระบบวัดแสงไม่ทำงาน ใครที่เริ่มเบื่อการถ่ายแบบออร์โตอยากลองอะไรใหม่ๆแนะนำว่าให้เลือกเจ้าตัวนี้เลย

film-camera

  • Rollei 35 SE

ตัวนี้เป็นกล้องฟิล์ม Compact สัญชาติเยอรมัน เป็นแบบกะระยะ  (Zone Focus) หมายถึงว่าช่องมอง ทำหน้าที่แค่กระจกเปล่าๆให้เราจัดวางองค์ประกอบภาพ และการโฟกัสเราต้องเป็นคนกะระยะเองว่าสิ่งที่จะถ่ายนั้นห่างไปจากเราเท่าไหร่ สำหรับการใช้กล้องตัวนี้ควรมีพื้นฐานมาบ้าง เช่น รู้จักรูรับแสง ชัตเตอร์ การกะระยะต่างๆ ไม่อย่างนั้นจะถือว่าเป็นกล้องที่ค่อนข้างใช้งานยาก ไม่เหมาะกับมือใหม่เท่าไหร่นัก แต่ถ้าใครที่เข้าใจพื้นฐานมาบ้างแล้วการใช้กล้องฟิล์มนี้จะสนุกมากๆเลยทีเดียว

en.wikipedia .org

สำหรับใครที่กำเงินไว้พร้อมแล้วแต่ยังหากล้องฟิล์มที่ถูกใจไม่ได้แนะนำว่าให้ลองดูความต้องการของตัวเองก่อนว่าอยากเริ่มจากกล้องแบบไหน โทนของภาพยังไง และศึกษาข้อมูลเบื้องต้นให้พร้อม เพื่อให้เลือกกล้องฟิล์มได้ถูกใจไม่เสียเงินเปล่า


อยากให้เพื่อนได้อ่าน แชร์เลย


Comments

Share This Articles
ใส่คีย์เวิร์ดแล้วกด Enter เลย